วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ASEAN

ASEAN

พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510

ความเป็นมาของอาเซียน

อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกัน       ในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ

วัตถุประสงค์หลัก

ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ
และองค์การระหว่างประเทศ

ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

ครั้งที่
วันที่
ประเทศเจ้าภาพ
สถานที่จัดตั้งการประชุม
ครั้งที่ 1
23-24 กุมภาพันธ์ 2519
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 2
4-5 สิงหาคม 2520
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 3
14-15 ธันวาคม 2530
ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา
ครั้งที่ 4
27-29 มกราคม 2535
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 5
14-15 ธันวาคม 2538
ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 6
15-16 ธันวาคม 2541
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย
ครั้งที่ 7
5-6 พฤศจิกายน 2544
ประเทศบูรไนดารุสซาราม
บันดาร์เสรีเบกาวัน
ครั้งที่ 8
4-5 พฤศจิกายน 2545
ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ
ครั้งที่ 9
7-8 ตุลาคม 2546
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 10
29-30 พฤศจิกายน 2547
ประเทศลาว
เวียงจันทน์
ครั้งที่ 11
12?14 ธันวาคม 2548
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 12
11?14 มกราคม 25501
ประเทศฟิลิปปินส์
เซบู
ครั้งที่ 13
18?22 พฤศจิกายน 2550
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 14
27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
พัทยา
ครั้งที่ 15
23-25 ตุลาคม 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
ครั้งที่
8-9 เมษายน 2553
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย



หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย


- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก

นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใดๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ ก่อน


การที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก ฉันทามติและ การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกันหรือที่ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเรียกว่า วิถีทางของอาเซียน’ (ASEAN’s Way)ในทางหนึ่งนั้น ก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัย ที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในเรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ มีความ สะดวกใจในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก และดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีกทางหนึ่งฉันทามติและ การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกันก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลายโอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวน การรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ ของอาเซียน ล้มเหลว ในการจัดการกับปัญหา ของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้ อย่างไรก็ดี การยึดถือฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจ ของอาเซียน ได้เริ่มมี ความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้

โครงสร้างของอาเซียน
โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงาน
ตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก
สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซียโดยมีหัวหน้าสำนักงานเรียกว่า เลขาธิการอาเซียนซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 35 ได้แต่งตั้งนาย Ong Keng Yong” ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทนนาย Rodolfo C. Severino Jr. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546) และมีรองเลขาธิการอาเซียนจำนวน 2 คน (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดยชาว มาเลเซียและเวียดนาม)
สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านอาเซียนดังกล่าว

กฏบัตรอาเซียน

เป็นร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพกฎบัตรอาเซียน เป็นร่างสนธิสัญญา ที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวาง กรอบทาง กฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่าง กฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550
ธงอาเซียน
Flag of Asean
คำขวัญ
"One Vision, One Identity, One Community"
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)
ประเทศสมาชิกในสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Asean Memmbers
สัญลักษณ์อาเซียน ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้
หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่่ กรุ่งจากาตาร์
เลขาธิการ : ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2551)
ปฏิญญากรุงเทพ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
กฎบัตรอาเซียน 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ
อาเซียนเปิดตัวตราสัญลักษณ์การเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 40 ปีแห่งการก่อตั้งอาเซียนในระดับภูมิภาค 19 กุมภาพันธ์ 2550

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หมายเลขพรรค

1


    สัญลักษณ์พรรค
เพื่อไทย


ชื่อและรูปหัวหน้าพรรค


นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์

พรรคเพื่อไทย

 
2


 พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร 




พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
3ประชาธิปไตยใหม่



พรรคประชาธิปไตยใหม่
นายสุรทิน พิจารณ์
4ประชากรไทย
นายสุมิตร สุนทรเวช

พรรคประชากรไทย
 
5รักประเทศไทย
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์




พรรครักประเทศไทย
6

 รองศาสตราจารย์เชาว์ มณีวงษ์


 

พรรคพลังชล
7ประชาธรรม
นายมุคตาร์ กีละ


พรรคประชาธรรม
8ดำรงไทย


พรรคดำรงไทย
นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู
9พลังมวลชนนายกรภพ ครองจักรภพ 
พรรคพลังมวลชน
10ประชาธิปัตย์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ   




พรรคประชาธิปัตย์
11ไทยพอเพียง
นายจำรัส อินทุมาร



พรรคไทยพอเพียง
12รักษ์สันติ
พลตำรวจโท ถวิล สุรเชษฐพงษ์  


พรรครักษ์สันติ
13ไทยเป็นสุขนายประดิษฐ์ ศรีประชา 
พรรคไทยเป็นสุข
14กิจสังคมนายทองพูล ดีไพร  
พรรคกิจสังคม
15ไทยเป็นไทนายตรีสัลล์ จันทน์เทียนเดชา
พรรคไทยเป็นไทย
16ภูมิใจไทย
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล  


พรรคภูมิใจไทย
17แทนคุณแผ่นดิน
นายวิชัย ศิรินคร    



พรรคแทนคุณแผ่นดิน
18
เพื่อฟ้าดิน
นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ



พรรคเพื่อฟ้าดิน
19

นายโชติ บุญจริง   
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
20การเมืองใหม่
นายสมศักดิ์  โกศัยสุข   



พรรคการเมืองใหม่
21ชาติไทยพัฒนา
นายชุมพล ศิลปอาชา   

พรรคชาติไทยพัฒนา
22เสรีนิยม
นายพุทธชาติ ช่วยราม



พรรคเสรีนิยม
23ชาติสามัคคี
นายนพดล ไชยฤทธิเดช  


พรรคชาติสามัคคี 
24บำรุงเมืองนายสุวรรณ ประมูลชัย
พรรคบำรุงเมือง
25กสิกรไทย นายจำลอง  ดำสิม
พรรคกสิกรไทย
26มาตุภูมิ
 พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน


 พรรคมาตุภูมิ
27ชีวิตที่ดีกว่า
รักษาการแทนหัวหน้าพรรค : นางพูลถวิล ปานประเสริฐ 
พรรคชีวิตที่ดีกว่า
28พลังสังคมไทยนายวิวัฒน์ เลอยุกต์


พรรคพลังสังคมไทย
29เพื่อประชาชนไทย
นายดิเรก กลิ่นจันทร์  
พรรคเพื่อประชาชนไทย
30มหาชน
นายอภิรัต ศิรินาวิน  
รรคมหาชน
31ประชาชนชาวไทยนายสุนทร ศรีบุญนาค  
พรรคประชาชนชาวไทย







พรรคการเมือง



 1.พรรคประชากรไทยหัวหน้าพรรคคือ นายสุมิตร สุนทรเวช

2.พรรคกิจสังคม หัวหน้าพรรคคือ นายทองพูล ดีไพร
  
  3.พรรคมหาชน หัวหน้าพรรคคือ   นายอิระวัชร์ จันทรประเสริฐ

  4 .พรรคไทเป็นไท หัวหน้าพรรคคือ     นายชูชาติ ประธานธรรม

  5.พรรคกสิกรไทยหัวหน้าพรรคคือ    นายจำลอง ดำสิม
 
 6.พรรคประชาธิปัตย์หัวหน้าพรรคคือ นายกอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ

  7.พรรคกฤษไทยมั่นคงหัวหน้าพรรคคือ    นายกฤศฌณพงศ์ นุสติพรลภัส

  8.พรรคชีวิตที่ดีกว่าหัวหน้าพรรคคือ    นายวรรธวริทธ์ ตันติภิรมย์

9.พรรคสยามหัวหน้าพรรคคือ    นายเพ็ชร สายพานทอง

  10.พรรคเพื่อฟ้าดินหัวหน้าพรรคคือ     นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ

 11.พรรคทางเลือกใหม่หัวหน้าพรรคคือ   นายการุณ รักษาสุข

 12.พรรคความหวังใหม่หัวหน้าพรรคคือ    นายชิงชัย มงคลธรรม

  13.พรรคเพื่อนเกษตรไทยหัวหน้าพรรคคือ     นายทรงเดช สุขขำ

 14.พรรคพลังเกษตรกรหัวหน้าพรรคคือ    นายอนันต์ กาญจนสุวรรณ

 15.พรรคประชาราชหัวหน้าพรรคคือ   นายเสนาะ เทียนทอง

 16.พรรคดำรงไทยหัวหน้าพรรคคือ    นายโชติพัฒน์ สกุลดีเชิดชู

  17.พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย หัวหน้าพรรคคือ   นายเอียน คิดดี

18.พรรคอาสามาตุภูมิหัวหน้าพรรคคือ    นายมนตรี เศรษฐบุตร

 19.พรรคชาติสามัคคีหัวหน้าพรรคคือ    นายนภดล ไชยฤทธิเดช

20.พรรคเพื่อไทยหัวหน้าพรรคคือ    นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์

21.พรรคเพื่อแผ่นดินหัวหน้าพรรคคือ    นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

22.พรรคอธิปไตยหัวหน้าพรรคคือ    นายวีระศักดิ์ อุปถัมภ์

23.พรรครวมใจไทย-ชาติพัฒนาหัวหน้าพรรคคือ   นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล

24.พรรคแทนคุณแผ่นดินหัวหน้าพรรคคือ    นายวิชัย ศิรินคร

25.พรรคชาติไทยพัฒนาหัวหน้าพรรคคือ    นายชุมพล ศิลปอาชา

26.พรรคอนาคตไทยหัวหน้าพรรคคือ    นายทะนงศักดิ์ ประดิษฐ์

27.พรรคเทียนแห่งธรรมหัวหน้าพรรคคือ    นายธนากร วีระกุลเดชทวี

28.พรรคอนุรักษ์นิยมหัวหน้าพรรคคือ   นายภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง

29.พรรคธรรมาภิบาลสังคมหัวหน้าพรรคคือ   นายสุรพงษ์ ภูธนะภิบูล

30.พรรคสุวรรณภูมิหัวหน้าพรรคคือ   ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์

31.พรรคพลังไทยหัวหน้าพรรคคือ    นางวัชรียา ธนะแพทย์

32.พรรคมาตุภูมิหัวหน้าพรรคคือ    นายวิวัฒน์ ประวีณวรกุล

33.พรรคภูมิใจไทยหัวหน้าพรรคคือ    นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล

34.พรรคเพื่อประชาชนหัวหน้าพรรคคือ    นายธนาณฐ ศรีวัฒนะ

35.พรรคพอเพียงหัวหน้าพรรคคือ    นางวันเพ็ญ เฟื่องงาม

36.พรรคต้นตระกูลไทยหัวหน้าพรรคคือ    นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

37.พรรคเงินเดือนประชาชนหัวหน้าพรรคคือ    นายอิ่นแก้ว เทียนแก้ว

38.พรรคธรรมาธิปัตย์หัวหน้าพรรคคือ    นายธันวา ไกรฤกษ์

39.พรรคขัตติยะธรรมหัวหน้าพรรคคือ    ว่าที่ ร.ต.สุรภัศ จินทิมา

40.พรรคประชาภิวัฒน์หัวหน้าพรรคคือ    นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี

41.พรรคแนวร่วมมาตุภูมิหัวหน้าพรรคคือ    นายสากล ศรีเสมอ

42.พรรคพลังพัฒนาหัวหน้าพรรคคือ     นายสนิท มาประจวบ

43.พรรคประชาธรรมหัวหน้าพรรคคือ    นายมุคตาร์ กีละ

44.พรรครวมไทยพัฒนาหัวหน้าพรรคคือ    นางสาวกิ่งกมล วายุโชติ

45.พรรคปวงชนชาวไทยหัวหน้าพรรคคือ    นายเดชชาติ รัตนวรชาติ

46.พรรคการเมืองใหม่หัวหน้าพรรคคือ    นายสมศักดิ์ โกศัยสุข
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
ผู้นำวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
ประธานที่ปรึกษาสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
เลขาธิการประเชิญ ติยะปัญจนิตย์ (รักษาการ)
โฆษกเทพสิทธิ์ ประวาหะนาวิน
นโยบายหันหน้าเข้าหากัน สร้างประเทศไทย รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย พลังไทยสร้างชาติ
1. สังคมมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง เศรษฐกิจยั่งยืน
2. สุขภาพดีทั่วไทย กีฬาสร้างชาติ ประชาชนมีคุณภาพ ขยายระบบสวัสดิการสังคม
3. เกษตรกรไยต้องรวย ค่าแรงดีมีงานทำ สร้างเถ่าแก่เงินล้าน เชื่อมสัมพันธ์การค้าไทยสู่ตลาดโลก
4. ทุกทิศทุกทางเดินทางทั่วถึง ตรึงราคาแก๊ส-น้ำมัน เพิ่มรายได้การท่องเที่ยว เพิ่มเงินอุดหนุนท้องถิ่น[1]
คำขวัญประชาสมคิด เพื่อชีวิตสมหวัง
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2550
514/1 ถ.หลานหลวง ี่แยกมหานาค ดุสิต กทม 
3.พรรคประชากรไทย
พรรคประชากรไทย
ผู้นำสุมิตร สุนทรเวช
เลขาธิการสมบูรณ์ เวสสุนทรเทพ
โฆษกเฉลิม เจ๊กแสง
ก่อตั้ง26 กรกฎาคม พ.ศ. 2525
สำนักงานใหญ่1213/323 ถนนศรีวรา แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลางกรุงเทพฯ 10310


 พรรคประชากรไทย (อังกฤษ: Thai Citizen Party - TCP, ย่อว่า: ปชท.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2525[1] ณ บริเวณสนามชัยข้างพระบรมมหาราชวังโดยมีนายสมัคร สุนทรเวชเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522
โดยผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้ง 29 ที่นั่ง จากจำนวน 32 ที่นั่งในกรุงเทพมหานคร และอีก 3 ที่นั่งในต่างจังหวัด
ต่อมาเมื่อพรรคประชากรไทยได้จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมายแล้ว เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2525 จึงได้ส่งข้อมูลสมาชิกและการดำเนินกิจการของพรรคให้กับกระทรวงมหาดไทย ในฐานะที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง จนกระทั่งเมื่อเกิดมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540พรรค จึงได้จัดส่งข้อมูลการดำเนินกิจการของพรรคให้กับกกต.โดยตรงในฐานะนายทะเบียน พรรคการเมืองตามกฎหมาย และกระทรวงมหาดไทยจะได้จัดส่งข้อมูลเดิมที่มีอยู่ให้กับคณะกรรมการการเลือก ตั้งต่อไป
พรรคประชากรไทย จัดเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก มีฐานเสียงที่สำคัญอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีบุคคลสำคัญอันเป็นเสมือนเอกลักษณ์ของพรรค คือ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค แต่หลังจากปีพ.ศ. 2540 แล้ว พรรคประชากรไทยมีบทบาทการเมืองในระดับประเทศลดลง อีกทั้งมีสมาชิกพรรคจำนวน 12 คน หันไปให้การสนับสนุนนายชวน หลีกภัย ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2ด้วย ซึ่งขัดต่อความเห็นของนายสมัคร หัวหน้าพรรค ซึ่งเรียกกันว่า "กลุ่มงูเห่า" ในปี พ.ศ. 2543 นายสมัคร ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ไม่ได้ลงสมัครในนามของพรรค
พรรคประชากรไทย ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 และปี พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเลยแม้สักที่นั่งเดียว
ปัจจุบัน มีหัวหน้าพรรค คือ นายสุมิตร สุนทรเวช น้องชายของนายสมัคร ที่ทำการพรรคตั้งอยู่ที่ ถนนศรีวรา แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กทม.
4.พรรครักประเทศไทย 

   พรรครักประเทศไทย (อังกฤษ: Rak Thailand Party) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[2] โดยมีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ เป็นเลขาธิการพรรค

พรรครักประเทศไทย
ผู้นำชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
เลขาธิการชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์
โฆษกวินัย ตั้งใจ
นโยบายเมื่อ ทุกพรรคต้องการเป็นรัฐบาลเพื่อให้ได้เข้าไปบริหารประเทศ ได้สัมปทานประเทศไทย ผลประโยชน์มหาศาลนี้ ต้องมีคนตรวจสอบ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น เกิดมาทุกยุค ทุกสมัย ทุกรัฐบาล พรรครักประเทศไทยขอเสนอตัวเป็นฝ่ายค้านเพื่อตรวจสอบการทำงาน ติดตามนโยบายต่างๆ ที่บรรดานักการเมืองให้คำมั่นสัญญาเมื่อได้เข้าไปบริหารประเทศ ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง[1]
ก่อตั้ง18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สำนักงานใหญ่188 แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพ
5.พรรคพลังชค

พรรคพลังชล
ผู้นำรศ.เชาวน์ มณีวงษ์
ประธานที่ปรึกษาสนธยา คุณปลื้ม
เลขาธิการปิลันธน์ดิลก จิตรธรรม
นโยบายมี ส่วนร่วมด้านการเมือง กระจายอำนาจ พัฒนาการเกษตร อุตสาหกรรม-ส่งออก การท่องเที่ยว เศรษฐกิจพอเพียง สถาบันครอบครัว พัฒนาคุรภาพชีวิต บริการสาธารณสุข การอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ปราบปรามยาเสพติด ส่งเสริมคุณภาพครู พัฒนาหลักสูตร พัฒนาระบบโลจิสติกส์ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ ความร่วมมือระหว่างประเทศ[1]
คำขวัญเทิดทูนสถาบัน ยึดมั่นประชาชน
ก่อตั้ง4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
สำนักงานใหญ่36/2 ถนนบางแสนล่าง ตำบลแสนสุขอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
พรรคพลังชล เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 นำโดยสนธยา คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรีหลายสมัย[2] พร้อมด้วยอดีต ส.ส.กลุ่มชลบุรี ซึ่งแต่เดิมสมาชิกในกลุ่มชลบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
พรรคพลังชล มีรองศาสตราจารย์ เชาว์ มณีวงษ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายปิลันธน์ดิลก จิตรธรรม เป็นเลขาธิการพรรค[3] ซึ่งพรรคพลังชลมีคำขวัญว่า "เทิดทูนสถาบัน ยึดมั่นประชาชน"[4] โดยมีฐานเสียงสำคัญในเขตเลือกตั้งจังหวัดชลบุรี และพื้นที่ภาคตะวันออก
6.พรรคประชาธิปัตย์
พรรคประชาธิปัตย์
ผู้นำอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประธานที่ปรึกษาชวน หลีกภัย
เลขาธิการสุเทพ เทือกสุบรรณ
โฆษกบุรณัชย์ สมุทรักษ์
นโยบายครอบ ครัวต้องเดินหน้า เพิ่มรายได้และลดรายจ่ายด้วยการมอบเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุทุกคน มีไฟฟ้าฟรีให้ผู้ที่ใช้น้อย ตรึงราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซหุงต้ม เพิ่มเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และจัดการปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาด เศรษฐกิจต้องเดินหน้า ยกระดับความเป็นอยู่ด้วยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มเงินกำไรในการประกันรายได้เกษตรกร ปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ ให้เกษตรกรมีที่ทำกิน และมีบำเหน็จบำนาญให้ประชาชนทุกคน ประเทศต้องเดินหน้า พัฒนาศักยภาพของประเทศด้วยการเร่งจัดกาพลังงานทดแทน สร้าบงเขตเศรษญกิจเพื่อยกระดับสินค้า มีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกรุงเทพฯ และภูมิภาค และจัดหาแหล่งน้ำ[1]
คำขวัญสจฺจํเว อมตา วาจา
(คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย)
ก่อตั้ง6 เมษายน พ.ศ. 2489 (65 ปี)
สำนักงานใหญ่67 ถนนเศรษฐศิริ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
พรรคประชาธิปัตย์ (อังกฤษ: Democrat Party - DP, ย่อว่า: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่[2] พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวนประมาณ 2,869,363 คน มีสาขาพรรคจำนวน 190 สาขา[3]
ปัจจุบัน พรรคประชาปัตย์เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน


7.พรรครักษ์สันติ
พรรครักษ์สันติ
ผู้นำพลตำรวจโทถวิล สุรเชษฐพงษ์
ประธานที่ปรึกษาศ.ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
เลขาธิการรศ.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ
โฆษกวิริยะ เตชะรุ่งโรจน์
นโยบายเป็น ธรรมทั่วไทย ต้านภัยธรรมชาติ วางมาตรการภาษีที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เพิ่มผลผลิตเกษตรกร เพิ่มความแน่นอนในธุรกิจ ผลผลิตเพียงพอบริโภค ปราศจากโรคภัย ใช้ปัญญาทำการพัฒนา คนชราได้รับการดูแล เป็นสุขแท้สังคมไทยไร้ยาเสพติด สร้างจิตสาธารณะ ลดละการทุจริต ร่วมใจร่วมสปิริตสู่อาเซียน มุ่งพากเพียรอนุรักษ์ความเป็นไทย เชิดชูยกย่องในบรรพชน[1]
คำขวัญสามัคคี กินดีมีสุข ทุกที่เป็นธรรม นำชาติรุ่งเรือง
ก่อตั้ง21 เมษายน พ.ศ. 2554
สำนักงานใหญ่14/23 หมู่ที่ 8 ถนนประดิษฐ์มนูธรรม เขตลาดพร้าว กทม 10230


      พรรครักษ์สันติ (อังกฤษ: RAK SANTI PARTY) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 โดยมีศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็น ประธานที่ปรึกษาพรรค มีพลตำรวจโทถวิล สุรเชษฐพงษ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีรองศาสตราจารย์ ดร.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ เป็นเลขาธิการพรรค[2] ซึ่ง พรรครักษ์สันติมีแนวความคิดที่จะแยกกรรมการบริหารพรรค ออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค เพื่อแยกงานอำนวยการกับงานการเมืองออกจากกัน[3]
พรรค รักษ์สันติ มีคำขวัญว่า "สามัคคี กินดีมีสุข ทุกที่เป็นธรรม นำชาติรุ่งเรือง" มุ่งดำเนินแนวนโยบายในการเป็นพรรคทางเลือก และเป็นกลางทางการเมือง โดยมีนักการเมือง นักวิชาการ และผู้มีชื่อเสียงเข้าร่วมงานกับพรรค อาทิ ผศ.ดร.นพดล อินนา รศ.ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน วีระชัย ไชยวรรธนะ พันธ์เลิศ ใบหยก พญ.วิวรรณ นิติวรางกูร นพ.ประจวบ อึ๊งภากร พีระพงศ์ สาคริก และ รศ.นงลักษณ์ วัฒนสิงหะ


8.พรรคกิจสังคม
พรรคกิจสังคม
ผู้นำทองพูล ดีไพร
ประธานที่ปรึกษาสุวิทย์ คุณกิตติ
เลขาธิการสยมภู เกียรติสยมภู
โฆษกเทวฤทธิ์ นิกรเทศ
นโยบายพรรค กิจสังคมมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทุกกลุ่ม พรรคจะดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้าน ส่งเสริมด้านเกษตรกรรมโดยใช้ชลประทานระบบท่อ ด้านเศรษฐกิจจะส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้นำ และพรรคจะพัฒนาเมืองหลวงโดยการกระจายความเจริญออกสู่เมืองบริวาร[1]
ก่อตั้ง4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
สำนักงานใหญ่ซอยหมู่บ้าน 99 ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร


พรรคกิจสังคม (อังกฤษ: Social Action Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[2] โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยให้ชื่อว่า "กิจสังคม" โดยแปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษ โดยนำชื่อพรรคมาจากพรรคการเมืองนี้ในประเทศอังกฤษ
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ก่อตั้งพรรค และหัวหน้าพรรคคนแรกให้เหตุผลว่า
Cquote1.svg
อยู่ ที่ความรู้สึก ว่าบ้านเมืองของเราเริ่มจะเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนปรารถนา ที่นี้ผมเองและพวกพ้อง ลูกศิษย์ ลูกหาที่เขาทำการงานไปแล้วหลายคน มาคิดกันว่า ประชาธิปไตย นี่ความจริงก็เป็นสิ่งที่ เราต้องการกันทุกคนในเมืองไทย
แต่เมื่อมี ประชาธิปไตยแล้ว มันก็ไม่ควรจะคิดว่า เราจะได้อะไรจากประชาธิปไตย เราควรจะคิดว่าเราจะให้อะไรแก่ ประชาธิปไตย ซึ่งเราทุกคนปรารถนานั้นได้ เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว เราก็อยากให้เท่าที่เรามีจะให้ได้คือ ก็เรียกว่าประสบการณ์ของเรา ความสามารถของเรา ความเสียสละ และความจริงใจของเราที่จะ ทำประโยชน์ต่อบ้านเมือง
เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว เรายังเห็นว่า บ้านเมืองนี้ ยังต้องการคนที่พร้อมจะเสียสละ ทำการงานอีกมาก โดยที่ไม่หวังอะไรตอบแทน ก็เลยตั้งพรรค (กิจสังคม) นี้ขึ้น เพื่อที่จะมีส่วนเข้าส่งเสริม แล้วก็รักษาระบอบประชาธิปไตย แล้วก็ทำการงานให้บ้านเมืองตามระบอบประชาธิปไตยจะอำนวยให้
Cquote2.svg


9.พรรคไทยเป็นไท
พรรคไทยเป็นไท
ผู้นำนายพงศ์สุชิน วีระกิธพานิช (รักษาการ)
ประธานที่ปรึกษานายกุศลหมีเทศริ์ ศรีอารวงศา
นโยบายเชิดชูสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้ดำรงอยู่คู่ชาติไทย ขันอาสาปลดหนี้ให้คนไทยทุกคน ๆละไม่เกิน 5 แสนบาท
ก่อตั้ง9 ธันวาคม พ.ศ. 2541
สำนักงานใหญ่81/9-10 ม.2 ต.บ้านกร่าง อ.กงไกรลาศจ.สุโขทัย 64170
พรรคไทยเป็นไท (Thais is Thai Party - TIP.) เป็นพรรคการเมือง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ในชื่อ พรรคเกษตรมหาชน[1] โดย นายชูชาติ ประธานธรรม (ชื่อเดิม "ปราบสะดา หมีเทศ" หรือ กุศล หมีเทศ หรือ "กุศล หมีเทศทอง" หรือ "ดารัณ หมีเทศ" ) เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคคนขอปลดหนี้ โดยมติที่ประชุมใหญ่ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2546[2]
เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคคนขอปลดหนี้ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2549 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคไทยเป็นไท
ปัจจุบันพรรคไทยเป็นไท มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 326,000 คน[3] และมีนายพงศ์สุชิน วีระกิธพานิช รองหัวหน้าพรรคทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค

10.พรรคภมิใจไทย
พรรคภูมิใจไทย
ผู้นำนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
เลขาธิการนางพรทิวา นาคาศัย
โฆษกนายศุภชัย ใจสมุทร
นโยบายกอง ทุนประกันราคาสินค้าเกษตรข้าวเปลือกตันละ 20,000 บาท กองทุนสวัสดิการผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม กองทุนจ้างงานแห่งชาติ 1 ล้านตำแหน่ง กองทุนพันาแหล่งท่องเที่ยวผ่าน อปท. จังหวัดละ 100 ล้านบาทต่อปี ถนนปลอดฝุ่นทั้งประเทศ สร้างทางน้ำเข้าไร่นาเกษตรกร ศูนย์ฝึกนักกีฬาอาชีพ 4 ภาค และสร้างที่ทำกิน 1 ล้านคน[1]
คำขวัญประชานิยม สังคมเป็นสุข
ก่อตั้ง5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สำนักงานใหญ่2159/11 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร


พรรคภูมิใจไทย (ย่อว่า: ภท.) ก่อตั้งเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มี นายพิพัฒน์ พรมวราภรณ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก นายมงคล ศรีอ่อน เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก และนางวันเพ็ญ ขวัญวงศ์ เป็นโฆษกพรรคคนแรก [2]
ในปัจจุบันมี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรค นางพรทิวา นาคาศัย เป็นเลขาธิการพรรค และนายศุภชัย ใจสมุทร เป็นโฆษกพรรค


11.พรรคแทนคุณแผ่นดิน
พรรคแทนคุณแผ่นดิน
ผู้นำวิชัย ศิรินคร
เลขาธิการบุญธร อุปนันท์
โฆษกธนะเทพ สังเกิด
นโยบาย- สร้างรางรถไฟคู่ขนาน จำนวน 3 สาย ให้แล้วเสร็จภายใน 15 ปี (หนองคาย,อุบลราชธานี, เชียงใหม่)
- สนับสนุนกองทุนกู้ยืมกองทัพแรงงานไทยอีสาน ไปทำงานในต่างประเทศ กว่าห้าแสนคนไปทำงานก่อนแล้วผ่อนให้รัฐทีหลัง
คำขวัญประโยชน์สุขของประชาชน คือ นโยบายสูงสุด
ก่อตั้ง9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
สำนักงานใหญ่16 ซอยลาซาน 42 เขตบางนา กรุงเทพ10260


พรรคแทนคุณแผ่นดิน (อังกฤษ: Thaen Khun Phaendin Party) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดย กลุ่มแทนคุณแผ่นดินอีสาน นำโดยวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ พรรคไทยรักไทย ที่แยกตัวออกมาพรรคพลังประชาชนเนื่องจากนายวิวรรธนไชยอ้างว่า นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้เคยพูดจาดูถูกคนอีสานไว้ในอดีต จึงไม่อาจยอมรับได้[1]
เดิมจะใช้ชื่อว่า พรรคแทนคุณแผ่นดินอีสาน[2] เนื่องจากมีเป้าหมายจะเป็นพรรคที่มีบทบาทในพื้นที่ภาคอีสานโดยเฉพาะ แต่ต่อมาได้ยุบเลิกไป[3] และจัดตั้ง พรรคแทนคุณแผ่นดิน ขึ้นมาใหม่ โดยมี ดร.มานะ มหาสุวีระชัย อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคพลังธรรมและพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหัวหน้าพรรค
พรรค แทนคุณแผ่นดิน มีสมาชิกจำนวนกว่า 6,174 คน สาขาจำนวน 5 สาขา มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 16 ซอยลาซาน 42 เขตบางนา กรุงเทพ โดยมีนายวิชัย ศิรินคร เป็นหัวหน้าพรรค

12.พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
ผู้นำนายโชติ บุญจริง
เลขาธิการนายวิเชียร ควรเอี่ยม
โฆษกนางประภาพรรณ ทับทิมถาวร
ก่อตั้ง20 มิถุนายน พ.ศ. 2549
สำนักงานใหญ่104 ซอยรณชัย 2 ถนนเศรษฐศิริ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร10400
โทรศัพท์ 0-2617-1495
โทรสาร 0-2279-1329


พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย (The Farmer Network of Thailand Party) ตัวย่อ : พนท. เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่20 มิถุนายน พ.ศ. 2549[1]
เป็นพรรคที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในช่วงที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดย เปลี่ยนสถานะจากเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย ที่เข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ด้วย โดยมีเจตนารมย์จะเป็นพรรคการเมืองภาคประชาชน มุ่งเน้นนโยบายไปที่เกษตรกรและชั้นชนใช้แรงงานในสังคม


13.พรรคการเมืองใหม่



พรรคการเมืองใหม่
ผู้นำนายสมศักดิ์ โกศัยสุข
เลขาธิการนายสุริยะใส กตะศิลา
โฆษกนายสำราญ รอดเพชร
คำขวัญซื่อสัตย์ เสียสละ กล้าหาญ ทำงานเป็น
ก่อตั้ง25 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สำนักงานใหญ่457 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
สีของพรรคสีเหลืองและสีเขียว


พรรคการเมืองใหม่ (อักษรย่อ: ก.ม.ม. อังกฤษ: New Politics Party - NPP) รหัสบริจาคภาษีให้พรรค 076 เป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยมีพื้นฐานมาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยมี นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค นายสุริยะใส กตะศิลา เป็นเลขาธิการพรรค และ พล.ร.ท. ประทีป ชื่นอารมณ์ เป็นโฆษกพรรค
ปัจจุบัน มีนายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค หลังจากการลาออกไปของนายสนธิ ลิ้มทองกุล[1]
สีประจำพรรค คือ สีเหลือง หมายถึงการเชิดชูประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และสีเขียวหมายถึงการเมืองสะอาดปลอดมลพิษ


14.พรรคชาติไทยพัฒนา
พรรคชาติไทยพัฒนา
ผู้นำชุมพล ศิลปอาชา
ประธานที่ปรึกษาพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
เลขาธิการพันธุ์เทพ สุลีสถิร
โฆษกวัชระ กรรณิการ์
คำขวัญพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อพัฒนาชาติไทย
ก่อตั้ง18 เมษายน พ.ศ. 2551
สำนักงานใหญ่เลขที่ 33/157 หมู่ที่ 11 แขวงแสนแสบเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
สภาผู้แทนราษฎร
25 / 475


พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นพรรคการเมืองที่รองรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคชาติไทย ซึ่ง ถูกตัดสินยุบพรรคเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่ง ณ เวลานั้น เหลือ ส.ส. ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ 13 คน จึงย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนาทั้งหมด ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 พรรคชาติไทยพัฒนาได้รับเลือกตั้ง 10 คน และปลายเดือนมกราคม ปีเดียวกัน มีสมาชิกจากอดีตพรรคมัชฌิมาธิปไตย ย้ายเข้าพรรคชาติไทยพัฒนา 2 คน รวมทั้งหมด 25 คน[3]


15.พรรคมาตุภูมิ
พรรคมาตุภูมิ
ผู้นำพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
เลขาธิการมั่น พัธโนทัย
โฆษกวิริยะ ลิขิตวงศ์
นโยบายสร้าง ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ ธำรงไว้ซึ่งศาสนา พิทักษ์และเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งปกปักษ์และส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของชาติ ตลอดจนจะยึดมั่นในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนคนไทย[1]
คำขวัญรักมาตุภูมิ เทิดทูนคุณธรรม
ก่อตั้ง3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สำนักงานใหญ่555 อาคารเบญจมาศ ชั้น 5 ถนนร่วมจิตร์ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิตกรุงเทพมหานคร


พรรคมาตุภูมิ (อังกฤษ: Matubhum Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เดิมชื่อพรรคราษฎร และเปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 [2] ในระยะแรกพรรคราษฎร ยังไม่มีบทบาททางการเมือง เนื่องจากไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด
ต่อมากิจการของพรรคมาตุภูมิ ได้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง ในปลายปี พ.ศ. 2551 ภายหลังคดียุบพรรคใหญ่หลายพรรค นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมด้วยสมาชิก ส.ส.กลุ่มวาดะห์ และกลุ่มปากน้ำของนายวัฒนา อัศวเหม ย้ายเข้ามาสังกัดพรรค[3]
นอกจากนี้แล้ว พรรคมาตุภูมิ ยังมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อมีข่าวว่ามีการเชิญ พลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน เป็นประธานพรรค[4] และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเวลาต่อมา[5]

16.พรรคมหาชน
พรรคมหาชน
ผู้นำอภิรัต ศิรินาวิน
เลขาธิการไพศาล เหมือนเงิน
โฆษกธีรพัฒน์ บุญภิรักษ์
ก่อตั้ง10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
เปลื่ยนชื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547


การเริ่มต้นของพรรคมหาชน มีพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เป็นแกนนำ โดยนโยบายพรรคมหาชนในระยะแรก ร่างโดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งลาออกจากพรรค มาพร้อมกับพลตรีสนั่น นำเสนอนโยบายว่าเป็นพรรคทางเลือกที่สาม นอกเหนือจาก พรรคไทยรักไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ อย่าง ไรก็ตามมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์โจมตีว่า พรรคตั้งขึ้นมาเพื่อแย่งชิงฐานเสียงของ พรรคไทยรักไทย ในภาคเหนือ และจะร่วมมือจัดตั้งรัฐบาลกับ พรรคประชาธิปัตย์ ในภายหลัง [ต้องการอ้างอิง]
เมื่อแรกก่อตั้งพรรค พลตรีสนั่น ได้เชิญ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก และ กำลังจะหมดวาระ ให้มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมหาชน แต่นายศุภชัยปฏิเสธ และต่อมาพิจารณารับตำแหน่งอื่นในสหประชาชาติต่อ พลตรีสนั่นจึงยกให้ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคแทน
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พลตรีสนั่น พร้อมด้วยนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชาย และสมาชิกพรรคมหาชน เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย โดย ให้เหตุผลว่ากฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันไม่เอื้อต่อการดำเนินงานของพรรคการ เมืองขนาดเล็ก ถือเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานของพรรคมหาชนไปโดยบริยาย [4]


17.พรรคประชาสันติ
พรรคประชาสันติ
ผู้นำเสรี สุวรรณภานนท์
ก่อตั้งพ.ศ. 2552


     พรรคประชาสันติ เดิมก่อตั้งขึ้นโดยมีชื่อว่า "พรรคธรรมาธิปัตย์" โดยมี ธันวา ไกรฤกษ์ เป็นหัวหน้าพรรค[1] ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "ประชาสันติ"[2]
ต่อมาในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 พรรคประชาสันติ ได้ประกาศร่วมงานทางการเมืองกับ ศ.ดร.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ พันธุ์เลิศ ใบหยก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณผศ.ดร.นพดล อินนา และ พล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน โดยมีเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล[3] แต่ต่อมา ดร.ปุระชัย และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่งได้ออกไปจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่[4] คือ พรรครักษ์สันติ


18.พรรคความหวังใหม่
พรรคความหวังใหม่
ผู้นำชิงชัย มงคลธรรม
ประธานที่ปรึกษาพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
เลขาธิการจารึก บุญไชย
โฆษกสราวุฑ ทองเพ็ญ
คำขวัญเลิกทาสทางความคิด ติดอาวุธทางปัญญา นำพาชาติพ้นภัย
ก่อตั้ง11 ตุลาคม พ.ศ. 2533
สำนักงานใหญ่486/3 ซอยทรัพย์ประชา ถนนประชาอุทิศ แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพ 10310
สีของพรรคสีเหลือง


พรรคความหวังใหม่ (อังกฤษ: New Aspiration Party, ย่อว่า ควม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค และน.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ เป็นเลขาธิการพรรค ร่วมด้วยนักการเมืองที่มีชื่อเสียงเช่น นายเสนาะ เทียนทอง นายจาตุรนต์ ฉายแสง และ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา มีสัญลักษณ์พรรคคือดอกทานตะวัน และมีคำขวัญพรรคว่า ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง
พรรคความหวังใหม่ ลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ได้เป็นฝ่ายค้าน และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และ พรรคความหวังใหม่ เป็นหนึ่งในบรรดา 4 พรรคการเมือง ที่เรียกกันในช่วงเวลานั้นว่า พรรคเทพ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมกันคัดค้าน การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
พรรคความหวังใหม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 ได้ที่นั่ง ส.ส. จำนวน 125 ที่นั่ง โดยเฉือนชนะ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคคู่แข่งสำคัญไปเพียง 2 ที่นั่ง ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
พรรคความหวังใหม่ มีฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสานหลังจากพล.อ.ชวลิต ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2540 จากการประกาศลดค่าเงินบาท และทำให้ระหว่างปีพ.ศ. 2540-2544 พรรคความหวังใหม่ต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็น พรรคฝ่ายค้าน


19.พรรคพลังคนกีฬา
พรรคพลังคนกีฬา
ผู้นำวนัสธนา สัจจกุล
เลขาธิการวิรุณ เกิดชูกุล
โฆษกกิตติพิชญ์ นองเนือง
นโยบายพัฒนาวงการกีฬาและสร้างความสามัคคีของคนในชาติ
คำขวัญรวมพลังคนกีฬา พัฒนาการเมืองไทย
ก่อตั้ง28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สำนักงานใหญ่134 ถนนรามคำแหง เขตสะพานสูงกรุงเทพ 10240


พรรคพลังคนกีฬา ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554เป็น ครั้งแรก โดยมีหมายเลขประจำพรรค คือ หมายเลข 36 ประกอบด้วยผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 103 คน ซึ่งพรรคพลังคนกีฬา ได้นำเสนอนโยบายการให้คนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อยุติปัญหาทางการเมือง โดยเสนอให้นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็น นายกรัฐมนตรี และนายวนัสธนา สัจจกุล หัวหน้าพรรคฯ จะขอเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะได้ใช้กีฬาสร้างความปรองดองในชาติ[4]


20.พรรคไทยสร้างสรรค์

ในช่วงแรกของการก่อตั้งนั้นเป็นการรวมตัวกันของผู้ความสนใจการเมือง จึงมีการก่อตั้งพรรคขึ้นในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 โดย มี นายวิบูลย์ แสงกาญจนวนิช เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีคณะกรรมการบริหารพรรครวม 11 คน จำนวนสมาชิก 18 คน หลังจากนั้นในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553 หัวหน้าพรรค พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน 5 คน ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง โดยในปัจจุบันมีคณะกรรมการทำหน้าที่รักษาการคณะกรรมการบริหารพรรค[3] คือ
  1. นายปวิตร ปานสถิตย์ ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค
  2. นายประสิทธิ์ พุกเงิน ทำหน้าที่รักษาการ เสนาธิการพรรค
  3. นายเกรียงสิน เจริญฉิม ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียน และ เหรัญญิก


พรรคไทยสร้างสรรค์
ผู้นำปวิตร ปานสถิตย์
เลขาธิการประสิทธิ์ พุกเงิน
นโยบาย1.ให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยแก่ประชาชน
2.สร้างค่านิยมที่ดีกับผู้นำกลุ่มต่างๆ
3.ปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้กับเยาวชน
4.สร้างบุคคลตัวอย่างในด้านต่างๆ ให้กับเยาวชน[1]
ก่อตั้งพ.ศ. 2553